วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวปฏิบัติในการจัดวิ่งทดสอบสมรรถภาพ ระยะทาง 2.4 กิโลเมตร

แนวปฏิบัติในการจัดวิ่งทดสอบสมรรถภาพ ระยะทาง 2.4 กิโลเมตร

1. คณะทำงาน
1) ฝ่ายอำนวยการ
2) ฝ่ายประชาสัมพันธ์ เชิญกลุ่มเป้าหมายมาร่วมงาน
3) ฝ่ายจัดเตรียมสถานที่
4) ฝ่ายจัดเตรียมและบริการอาหาร (ข้าวต้ม),น้ำดื่ม
5) ฝ่ายลงทะเบียนรับสมัคร
6) ฝ่ายประมวลผลข้อมูล / สถิติรายบุคคลและวิเคราะห์ข้อมูล / สรุปรายงาน
7) ฝ่ายจัดพิมพ์เกียรติบัตร / เหรียญรางวัล
8) ฝ่ายมอบเกียรติบัตร / เหรียญรางวัล
2. วัสดุ-อุปกรณ์
1) จัดสถานที่
 กำหนดสถานที่จัดงาน (เช่น โรงเรียน วัด หรือ อบต. เป็นต้น)
 เต็นท์บังแดดฝน (พิจารณาตามความเหมาะสม)
 เก้าอี้สำหรับแขกผู้มีเกียรติ ประมาณ 10 ตัว (ตามความเหมาะสม)
 โต๊ะวางน้ำสำหรับจุดบริการน้ำดื่ม (ที่จุดกลับตัว และบริเวณงาน)
 โต๊ะและเก้าอี้ สำหรับทีมประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ จำนวนเท่ากับจำนวนคอมพิวเตอร์ที่จะใช้
 ปลั๊กไฟฟ้า และไฟส่องสว่าง บริเวณจุดลงทะเบียน จุดประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ และจุดอำนวยการ(เครื่องขยายเสียง)
 โต๊ะและเก้าอี้ สำหรับลงทะเบียน 7 ชุด (ลงทะเบียนแยกกลุ่มอายุ)
 ป้ายบอกจุดลงทะเบียนแยกกลุ่มอายุ 7 ป้าย
 ป้ายไวนิล เกณฑ์มาตรฐานการวิ่งทดสอบสมรรถภาพ 2.4 ก.ม. (เพศชาย แบ่งตามช่วงอายุ) จำนวน 1 ป้าย (ขนาด 1.20X2.40 หรือพิจารณาตามความเหมาะสม)
 ป้ายไวนิล เกณฑ์มาตรฐานการวิ่งทดสอบสมรรถภาพ 2.4 ก.ม. (เพศชาย แบ่งตามช่วงอายุ) จำนวน 1 ป้าย (ขนาด 1.20X2.40 หรือพิจารณาตามความเหมาะสม)
 ป้ายไวนิล จุดเริ่มต้น-จุดเส้นชัย (START-FINISH)
 กรวยแบ่งช่องการวิ่งเข้าเส้นชัย (แบ่ง 2 ช่อง ชาย-หญิง) และจุดกลับตัว (พิจารณาตามความเหมาะสม เน้นความสะดวกและความปลอดภัยของนักวิ่ง)
 จัดที่รองรับขยะสำหรับทิ้งขยะหรือภาชนะใส่น้ำดื่ม (ถังขยะ หรือถุงดำ โดยจัดให้สามารถทิ้งได้สะดวก)
 ป้าย หรือบอร์ดสำหรับติดประกาศ (ขนาด 1.20X2.40 หรือพิจารณาตามความเหมาะสม) สำหรับติดประกาศต่างๆ เช่น กำหนดการ ผังเส้นทางวิ่ง ผลการวิ่งรายบุคคล เป็นต้น
2) ชุดเครื่องขยายเสียง
 ชุดเครื่องขยายสียง พร้อมลำโพง
 เครื่องเล่น VCD/DVD (พร้อม แผ่นซีดีเพลง)
 ไมโครโฟน จำนวน 2 ตัว
3) อาหาร / น้ำดื่ม สำหรับคณะทำงานและนักวิ่ง
 ข้าวต้ม ภาชนะใส่ข้าวต้มพร้อมช้อน
 น้ำเปล่า น้ำแข็ง (พร้อมกระติก หรือคูลเลอร์ใส่น้ำ)
 น้ำเต้าหู้ (ถ้ามี หรือจัดหาได้)
 แก้วน้ำ หรือภาชนะใส่น้ำดื่มแบบใช้ครั้งเดียว
4) การลงทะเบียน
 แบบฟอร์มใบสมัคร (ชื่อ-สกุล, เพศ, วดป. เกิด, กลุ่มอายุ, ที่อยู่)
 เบอร์ติดหน้าอก แยกกลุ่มอายุ
 แบบฟอร์มคุมเบอร์หรือหมายเลขประจำตัวนักวิ่ง แยกเพศ แยกกลุ่มอายุ (ใช้ลงทะเบียนเบอร์และชื่อนักวิ่งก่อนการมอบเบอร์ให้นักวิ่ง)
5) เกียรติบัตร / เหรียญรางวัล
 เกียรติบัตร ชนะเลิศลำดับที่ 1-3 แยกเพศและกลุ่มอายุ จำนวน 2 เพศ X 7 กลุ่มอายุ X 3 ลำดับ รวมทั้งสิ้น 42 ใบ
 ป้ายคล้องคอ ชนะเลิศลำดับที่ 1-3 แยกเพศและกลุ่มอายุ จำนวน 2 เพศ X 7 กลุ่มอายุ X 3 ลำดับ รวมทั้งสิ้น 42 อัน
 แบบฟอร์มลงทะเบียนนักวิ่งที่ชนะเลิศลำดับที่ 1-3 แยกกลุ่มอายุ แยกเพศ (แบบรายงานตัวนักวิ่งที่ได้รับป้ายคล้องคอ)
6) ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
 คอมพิวเตอร์โน้ตบุค จำนวน 1 - 5 เครื่อง (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่จะมาร่วมวิ่ง และรูปแบบการบริหารจัดการของหัวหน้าทีมประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์)
 เครื่องรับส่งสัญญาณแบบไร้สาย หรือ Wireless LAN (อาจจจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการบริหารจัดการของหัวหน้าทีมประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์)
 ปลั๊กไฟฟ้า 2-3 ชุด (ปลั๊ก 3 ตา)
 เครื่องพิมพ์ (Printer) จำนวน 1-2 เครื่อง (พิจารณาตามความเหมาะสม)
 กระดาษขนาด A4 จำนวน 1 รีม
7) ประมวลผลด้วยคน (Manual)
 แบบฟอร์มเปล่าสำหรับบันทึกข้อมูล (เบอร์-เวลาวิ่ง) รายบุคคล แยกเพศและกลุ่มอายุ จำนวน 2 เพศ X 7 กลุ่มอายุ X 1 แผ่น รวมทั้งสิ้น 14 แผ่น
 ป้ายคล้องคอ (รายละเอียดตามข้อ 4)
3. กำหนดเส้นทางวิ่ง
 วัดระยะทางวิ่งไปกลับ ให้ได้ 2.4 กิโลเมตร
 จุดเริ่มวิ่งและเส้นชัย ให้เป็นจุดเดียวกัน
 จัดทำแผนผังเส้นทางวิ่งเพื่อแสดงให้นักวิ่งทราบ (ติดไว้บริเวณการจัดกิจกรรม)
4. การกำหนดหมายเลข (เบอร์) ติดหน้าอก
 กำหนดหมายเลข 2 ตัวแรกเป็นกลุ่มอายุ ดังนี้
 กลุ่มอายุ ต่ำกว่า 13 ปี (70) เช่น 70-01, 70-02, 70-03,…
 กลุ่มอายุ 13-19 ปี (10) เช่น 10-51, 10-52, 10-53,…
 กลุ่มอายุ 20-29 ปี (20)
 กลุ่มอายุ 30-39 ปี (30)
 กลุ่มอายุ 40-49 ปี (40)
 กลุ่มอายุ 50-59 ปี (50)
 กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป (60)
5. กำหนดการจัดกิจกรรม
 เวลา 05.00 น. รับสมัคร-ลงทะเบียนแยกกลุ่มอายุ
 เวลา 05.30 น. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ อบอุ่นร่างกาย
 เวลา 06.00 น. ปล่อยตัวนักวิ่ง
 เวลา 06.30 น. บริการข้าวต้ม
6. …………………………………….
7. ……………………………………..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น